ตรวจเช็คปัญหา แอร์รถยนต์ด้วยมานิโฟลด์เกจ
แอร์ไม่เย็นมีได้หลายสาหตุ แต่บางครั้งเวลาเมื่อแอร์ไม่เย็น เจ้าของรถเข้ามาซ่อมส่วนมาจะคิดว่าให้เติมน้ำยาแอร์ แต่ถ้าสาเหตุเกิดจากระบบแอร์มีการรั่วซึมก็สามารถ เติมเพิ่มเพื่อให้ใช้งานไปก่อนได้ แต่ถ้ามาจากสาเหตุอื่นก็ต้องแก้ไขตามอาการที่เสียถึงจะเย็น
โดยส่วนมากเมื่อรถเข้ามารับบริการ เพื่อให้วิเคราะห์สาเหตุได้แม่นยำมากขึ้น เราจะใช้เกจวัดน้ำยาแอร์(Manifold gauge) เพื่อช่วยในการตรวจสอบและวิเคราะห์ ให้เจอสาเหตุได้แม่นยำยิ่งขึ้น
การอ่านค่าเกจวัดแรงดันเพื่อวิเคราะห์ จะแก้ไขสำหรับอาการ มีลมออกแต่แอร์ไม่เย็น หรือ ความเย็นน้อยที่เรียกกันส่วนใหญ่ว่าเย็นไม่ฉ่ำ และมักจะวิเคราะห์ได้ผลตอนที่เกิดปัญหาแอร์ไม่เย็น
ในกรณีบางคันอุปกรณ์เริ่มเสื่อม ทำงานบ้างไม่ทำบ้าง ตอนมาถึงแอร์เย็นปกติ ค่าเกจก็จะปกติ แต่ต้องรอให้เกิดอาการก่อนถึงจะวิเคราะห์ได้แม่นยำ
ขั้นตอนทั่วไปในการติดตั้งเกจ เพื่ออ่านค่าแรงดัน
1. ปิดวาล์วที่เกจ และต่อเกจเข้ากับระบบ
2. ไล่ลมที่สายเกจออก
3. อุณหภูมิบรรยากาศภายนอกอยู่ประมาณ30-35องศาเซลเซียส
4.ปรับ สวิตซ์พัดลมแอร์ และ สวิตซ์ความเย็นแอร์ ให้อยู่ตำแหน่งสูงสุด เพื่อให้คอมเพรสเซอร์แอร์ทำงานอย่างต่อเนื่องในขณะวัดค่าแรงดันน้ำยาแอร์
ค่าความดันที่ถือว่าระบบปกติ ที่เราจะตั้งไว้เป็นเกณท์ โดยทั่วไปจะอยู่ที่
ค่าความดันต่ำ 30-40 PSI
ค่าความดันสูง 200-250 PSI
กรณีที่1 แรงดันน้ำยา ต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งด้านแรงดันต่ำ และด้านแรงดันสูง
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟองอากาศ | เกิดการรั่วในระบบ เช่น ท่อแอร์ ข้อต่อต่างๆๆ ตู้แอร์ คอมแอร์ | ตรวจสอบหาจุดรั่ว แก้ไขจุดรั่ว เติมน้ำยาแอร์ |
กรณีที่2 แรงดันสูงกว่าเกณฑ์ ทั้งด้านแรงดันต่ำ และด้านแรงดันสูง
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟองอากาศ ทดสอบราดน้ำที่แผงระบายความร้อนร้อน ฟองอากาศลดลง แรงดันลดลง | ระบบระบายความร้อนมีปัญหา พัดลมระบายความร้อนไม่หมุน น้ำหม้อน้ำแห้ง แผงระบายความร้อนอุดตัน | แก้ไขระบบระบายความร้อน แก้ไขพัดลมเสีย หรือชุดสั่งงานพัดลม แก้ไขจุดรั่วระบบน้ำหล่อเย็น ล้างแผงระยายความร้อนแอร์ |
สอบถามข้อมมูลพึ่งเติมน้ำยาแอร์มา | เติมน้ำยาเกิน | ปล่อยน้ำยาออก(เคยเจอบางครั้ง) |
กรณีที่3 แรงดันปกติ แต่แอร์ไม่เย็น
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
ตามปกติแรงดันตามเกณท์น่าจะเย็นปกติ แต่แอร์ไม่เย็น ตาแมวมีฟอง | เกิดจากกรณีที่1 น้ำยารั่วซึมแต่กว่าจะมาถึงร้านนาน ทำให้อุณหภูมิระบบสูงขึ้นทั้ง จนบางครั้งอุณภูมิถึงตามเกณท์ทำให้อ่านค่าได้ปกติ | ดับเครื่องรอจนความร้อนสะสมลดลงหรือใช้น้ำราดที่แผงระบายความร้อนรอจนน้ำแห้ง แล้วแก้ไขจุดรั่ว เติมน้ำยาแอร์เพิ่ม หลังจากแก้ไขต้องตรวจสอบระบบเพิ่ม ในบางครั้งอาจจะเกิดกรณีที่2 ระบายความร้อนไม่พอร่วมด้วย |
ทดสอบอุณหภูมิที่ ท่อน้ำยา ตำแหน่งหลังแผงร้อน หรือหลังดรายเออร์ มีอุณหภูมิต่ำ หรือมีน้ำเกาะ (ขึ้นอยู่กับจุดวัดของหัวบริการด้วย) | เกิดการตันที่แผงระบายความร้อน หรือ ดรายเออร์ ทำให้เกิดการลดแรงดัน ก่อนถึง Expansion Valve ทำให้ความเย็นสูญเสียนอกตู้แอร์ | เปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ |
กรณีที่4 แรงดันด้านต่ำสุงกว่าเกณฑ์ แรงดันด้านสูงปกติหรือต่ำกว่าเกณท์
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
แอร์ไม่เย็นไม่ฉ่ำ สู้แดดไม่ไหว | กำลังอัดคอมน้อย | เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์หรือใช้งานไปก่อน ในบางกรณีอาจจะช่วยโดยติดตั้งมอเตอร์พัดลมระบายแผงคอล์ยร้อนเพิ่มเพื่อชดเชยกรณีประสิทธิภาพคอมลดลง |
อาจจะมีคราบน้ำแข็งเกาะที่ Expansion Valve | Expansion วาล์วเปิดค้าง | เปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ |
กรณีที่5 แรงดันด้านต่ำต่ำกว่าเกณฑ์ แรงดันด้านสูงปกติหรือสูงกวาเกณฑ์
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
แอร์ไม่เย็น อาจมีคราบน้ำแข็งเกาะที่ Expansion Valve บางครั้งเกจดด้านแรงต่ำอาจจะสวิงหรือค่าติดลบ | Expansion Valve อุดตัน | เปลี่ยนดรายเออร์ Expansion Valve ตรวจสอบความสะอาดในระบบ |
กรณีที่6 แรงดันด้านต่ำและด้านสูง เท่ากันหรือใที่ประมาณมากกว่า 100 PSI
จุดสังเกต | การวิเคราะห์ | การแก้ไข |
อาการนี้เกิดจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน เช็คไฟมาถึงหน้าคลัทช์ | หน้าคลัทช์เสีย | เปลี่ยนหน้าคลัทช์ |
อาการนี้เกิดจากคอมเพรสเซอร์ไม่ทำงาน รุ่นControl Valve ด้านในคอม | Control Valve วาล์วเสีย หรือ คอมเพรสเซอร์เสีย | เปลี่ยน Control Valve เปลี่ยนคอมเพรสเซอร์(บางรุ่นเปลี่ยนเฉพาะControl Valve สามารถใช้งานได้อีกไม่นาน) |
ไม่มีไฟมาจ่ายที่คอมเพรสเซอร์ | -เกิดจากอุปกรณ์ตรวจจับเสีย -อุปกรณ์สั่งงานเสีย -ระบบตัดการทำงานจากสาเหตุอื่นเช่น จากกรณีที่2 ระบายความร้อนไม่ทันจนแรงดันสูงขึ้น>สวิตซ์แรงดันสั่งตัดไฟป้องกันท่อแตกหรือคอมเพรสเซอร์เสียจากการทำงานหนัก | ข้อนี้จุดเช็คจะมีหลายรายการ เช่น ฟิวส์ รีเลย์แอร์ รีเลยพัดลม เทอร์โมสตัด พัดลมระบายความร้อน สวิตซ์ความเย็นแอร์ สวิตซ์พัดลมแอร์ กล่องควบคุมแอร์(บางรุ่น) สวิตซ์แรงดัน สายไฟขาด ตู้แอร์ตัน |
ในกรณีที่6 คอมเพรสเซอร์ ไม่ทำงาน อาจจะมีปัญหาอื่นร่วมด้วย ต้องแก้ไขให้คอมเพรสเซอร์ทำงานก่อนถึงจะสามารถตรวจสอบแรงดันว่ามุดอื่นเสียด้วยหรือไม่ ที่พบบ่อยเช่น
-พบแรงดันน้ำยาต่ำกว่าเกณฑ์ ตามกรณีที่1
-พบระบบระบายความร้อน ตามกรณีที่2
-พบExpansion Valve อุดตันตามกรณีที่5