ทำไมต้องเปลี่ยนหัวเทียน ?
หัว เทียนเมื่อถูกใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง จะเกิดการสึกกร่อนที่ปลายแกนกลาง และเขี้ยวของหัวเทียน เกิดจากปฏิกิริยาออกซิไดซ์ ที่สะสมความร้อนได้ระดับหนึ่ง ปริมาณการสึกกร่อนขึ้นอยู่กับจุดหลอมละลายของวัตถุที่นำมาทำแกนกลาง และเขี้ยวหัวเทียน เพื่อยืดอายุการกัดกร่อนนั้น จึงต้องอาศัยโลหะพิเศษ เช่น นิคเคิล อัลลอย ทองคำขาว อิริเดียม ผสมเข้าไปเป็นตัวป้องกัน นอกจากนี้ปริมาณการสึกกร่อนยังขึ้นอยู่กับสภาพการใช้งาน และชนิดของเครื่องยนต์ด้วย สำหรับหัวเทียนธรรมดา ปริมาณการสึกกร่อนอยู่ประมาณ 0.10-0.15 มม. ในทุกๆ 10,000 กม. การดูปริมาณการสึกกร่อนของหัวเทียนนั้น สามารถดูด้วยตาตนเองได้ ตรงบริเวณแกนกลาง และเขี้ยวหัวเทียน ถ้าเริ่มสึกกร่อนเป็นลักษณะรูปโค้งมน ไม่มีเหลี่ยมคมแล้ว นั่นหมายความว่า ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแล้ว เพราะถ้ายังใช้อยู่ จะทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง กินน้ำมันมากขึ้น เนื่องจากหัวเทียนจุดประกายไฟ และจุดระเบิดเริ่มไม่สม่ำเสมอ
หัวเทียน ควรเปลี่ยนตอนไหน ?
วันนี้มีเทคนิคการดูแลรถยนต์เกี่ยวกับ”หัวเทียน” มาฝาก รถยนต์ของเพื่อนๆเคยมีอาการแบบนี้หรือป่าวครับ “สตาร์ทติดยาก เร่งไม่ขึ้น เครื่องสั่นเมื่อถึงรอบเดินเบา กินน้ำมัน” ปัญหานี้จะลดหรือหมดไป แค่เปลี่ยน หัวเทียน ! เพราะฉะนั้นจึงต้องทำการเปลี่ยนใหม่ทุกๆ 20,000 – 30,000 กม.
น้ำยาหล่อเย็น มีประโยชน์กับหม้อน้ำอย่างไร ??
หน้าที่หลักๆขอน้ำยาหม้อน้ำคือ 1ป้องกันน้ำในระบบแข็งตัวเป็นน้ำแข็งในจังหวะสตาร์ทเครื่องยนต์ใหม่ๆ (เมืองนอกที่อากาศติดลบทั้งหลาย) 2เพิ่มจุดเดือนน้ำ คือชลอการละเหยของน้ำในระบบหล่อเย็นเวลาเครื่องยนต์ร้อนจัด (ข้อนี้สำหรับเมืองร้อนด้วย) เพราะเวลาน้ำเดือดน้ำจะระเหยกลายเป็นไอ ลองต้มน้ำในหม้อดูสิครับ น้ำเปล่าเริ่มระเหยเป็นไอที่ 100C ํ ถ้าผสมน้ำยาก็จะระเหยที่ 105 / 110 / 115 องศาเซลเซียส ….ตามสัดส่วนการผสม… 3ป้องกันการเกิดสนิม ตะกอน พอมีสนิมก็ผุ กร่อน.มีตะกอน.(ลดความเสี่ยงในการอุดตันในหลอดน้ำที่รังผึ้งหม้อน้ำ) 4หล่อลื่นปั๊มน้ำและซีลปั๊มน้ำ และวาล์วน้ำ (อันนี้เกี่ยวเนี่องจากข้อ3 เพราะไม่มีตะกรัน ตะกอน)
17 ข้อควรทำ สำหรับรถติดแก๊ส
โดยส่วนใหญ่ผู้ใช้รถที่ติดตั้งแก๊สมักไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของระบบแก๊สและการดูแล จนเป็นที่มาของการใช้รถที่ติดแก๊สแล้วมีปัญหาจนไม่อยากใช้งาน เรามาลองดูกันว่าเราควรที่จะต้องดูแลอย่างไรกับรถที่ติดตั้งแก๊สบ้าง รถติดแก๊ส 1. ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของแก๊ส ตามข้อต่อ และจุดต่างๆ ทุกเดือน โดยใช้ฟองสบู่ หรือเครื่องตรวจวัดการรั่วของแก๊ส 2. ตรวจเช็ค และทำความสะอาดไส้กรองอากาศทุก ๆ 5,000 กิโลเมตร ซึ่งบ่อยกว่าการตรวจเช็คเมื่อใช้น้ำมันเบนซินเพียงอย่างเดียว (ปกติ 10,000 กิโลเมตร) 3. ตรวจสอบอุปกรณ์สำหรับเติมแก๊ส ถังแก๊สตรวจ น็อตที่ยึดถังแก๊สทุกเดือน 4. ควรตรวจเช็ค และตั้งบ่าวาล์วไอเสียทุกระยะ 40,000 – 60,000 กม. เพราะบ่าวาล์วไอเสียของเครื่องยนต์ที่ใช้แก๊ส NGV และแก๊ส LPG จะ มีโอกาสสึกหรอเร็วกว่า จึงควรที่จะใช้น้ำมันเบนซินสลับกับการใช้แก๊ส เพื่อให้น้ำมันเบนซิน ไปเคลือบบ่าวาล์วบ้างเพื่อให้มีอายุการใช้งานนานขึ้น 5. ห้ามดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการใช้งานแก๊สที่ได้รับการติดตั้งจากศูนย์ที่ได้มาตรฐานหากมี ปัญหาให้รีบติดต่อศูนย์บริการที่ติดตั้งมาทันที 6. ห้ามเติมแก๊สเกินแรงดันที่กำหนดไว้ของถัง จะทำให้ถังเสื่อมคุณภาพเร็ว และอาจระเบิดได้ 7. เพื่อรักษาประสิทธิภาพของเครื่องยนต์ ควรใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องยนต์ก่อนและหลังการใช้ 8. หาก เกิดการรั่วไหลของแก๊ส ให้รีบหยุดรถ และดับเครื่องยนต์โดยทันที รีบปิดวาล์วที่ถังแก๊ส และห้ามทำการใด ๆ ที่ทำให้เกิดประกายไฟ ตรวจดูว่าหากไม่มีการรั่วไหลเพิ่ม ให้เปลี่ยนระบบมาใช้น้ำมันสตาร์ทเครื่องแล้วรีบนำรถเข้าไปยังศูนย์บริการที่ติดตั้งแก๊สโดยทันที 9. หากเกิดไฟไหม้ที่ตัวรถให้รีบดับเครื่องยนต์ปิดวาล์วที่ถังแก๊สโดยทันทีถ้าทำได้ และออกห่างจากตัวรถ หรือพยายามดับไฟที่แหล่งกำเนิด 10. เพื่อรักษาประสิทธิภาพ และคุณภาพของชิ้นส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบน้ำมัน ควรมีน้ำมัน ติดถังไว้อย่างน้อย 1 ส่วน 4 ถังเสมอ ๆ และเพื่อป้องกันระบบปั๊มน้ำมันเสีย 11. กรองอากาศ บาง ท่านที่ใช้รถมักจะดูแลความสะอาดของกรองอากาศเมื่อนำรถเข้าเปลี่ยนถ่ายน้ำมัน เครื่อง หากเราใช้แก๊สระบบดูดคงต้องหันมาสนใจมันมากหน่อย กล่าวคือควรที่จะทำความสะอาดทุกๆ สัปดาห์ได้จะยิ่งดีครับ ถามว่าทำไมมันต้องทำขนาดนั้น ก็เนื่องด้วยระบบดูด หากกรองอากาศมันตันเครื่องยนต์พยายามที่จะดูดอากาศเข้าไปแต่กรองอากาศมันตัน เสียแล้ว มันก็จะไปดูดแก๊สแทนก็จะทำให้ส่วนผสมระหว่างแก๊สกับอากาศผิดไป ทำให้กินแก๊สมากขึ้น และอาจทำให้เครื่องยนต์ดับได้เมื่อเราเหยียบเบรก หรือชะลอความเร็ว 12. หัวเทียน อย่าง ที่เคยอธิบายไปแล้วว่า แก๊สนั้นจะติดไฟยากกว่าน้ำมัน หากหัวเทียน เสื่อมสภาพก็จะทำให้เครื่องยนต์ของเราเดินได้ไม่เรียบเวลาเดินเบา หรืออาจเกิด Back Fire ได้ ซึ่งอันตรายมากครับ จึงแนะนำให้มีการเปลี่ยนหัวเทียนเมื่อครบอายุการใช้งานครับ และควรใช้เบอร์เดียวกับที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์เค้ากำหนด 13. การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง หาก เราใช้น้ำมันเครื่องเกรดเดิมที่เคยใช้อยู่ ก็ลดระยะทางในการเปลี่ยนถ่ายลงสักหน่อยคือเปลี่ยนถ่ายให้เร็วขึ้นนะครับ เช่น เมื่อก่อนเคยเปลี่ยนถ่ายทุก 5,000 กม. ก็ลดลงมาให้เหลือสัก 4,000 กม. ถามว่าทำไม ก็อย่างที่เคยอธิบายเอาไว้นะครับว่า เครื่องยนต์ที่เผาไหม้แสจะเกิด กรด มากกว่าการเผาไหม้ด้วยน้ำมัน ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมและเกิดการเสียหายกับเครื่องยนต์ของ เราก็ควรจะทำอย่างที่ผมแนะนำ แต่หากเราใช้น้ำมันเครื่องที่มีเกรด และคุณสมบัติดีกว่าเดิม ก็เปลี่ยนถ่ายตามระยะปกติที่เคยทำนะครับ 14. ระบบน้ำหล่อเย็น ควร ที่จะต้องตรวจดูให้บ่อยขึ้น เนื่องด้วยอาจมีการรั่วตามจุดที่เราติดตั้งอุปกรณ์แก๊สขึ้นมาได้ และที่สำคัญความร้อนจากการเผาไหม้แก๊สจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากเดินเล็กน้อย แต่ก็จะทำให้น้ำระเหยได้เร็วขึ้นด้วยครับ 15. การรั่วของระบบแก๊ส อัน นี้ถ้าทำได้บ่อยก็จะดีมาก เราอย่าไว้ว่างใจว่าเราติดตั้งกับร้านที่ดีแล้วมันจะไม่เกิดการเสียหาย ทุกอย่างมีการสึกหรอและชำรุดได้อยู่แล้วดังนั้นทุกๆ 3 เดือน ควรมีการตรวจเช็คระบบแก๊สกันสักครั้งครับ 16. ปรับจูนการทำงานของหม้อต้ม เพื่อให้ประสิทธิภาพการทำงานเป็นไปอย่างดีอยู่เสมอควรมีการปรับจูนระบบการการแก๊สอย่างน้อย 3 เดือน ครั้งครับ หากทำได้รับรองเลยว่าเราจะใช้งานได้สะดวกและปลอดภัย 17. เช็คระบบควบคุมการทำงานของระบบแก๊ส ชุด นี้จะไม่ค่อยมีปัญหาเท่าไหร่หากเราไม่ไปซนกับมันมาก กล่าวคือเมื่อเราเปิดเป็นระบบออโต้ ไว้ก็ไม่ควรที่จะไปปรับแล้ว เพราะมันจะทำให้สวิทซ์ควบคุมชำรุดได้เร็วขึ้น เมื่อรู้เช่นนี้ก็อย่าไปกดมันเล่นเลยนะครับ